งานพิมพ์มีหลากหลายประเภท แต่ละประเภท ก็เหมาะกับงานพิมพ์ที่แตกต่างกันไป ก่อนจะพิมพ์งานก็ควรเลือกให้เหมาะกับการพิมพ์ เพื่อให้งานพิมพ์ที่ได้ออกมาดี สวยงามและมีคุณภาพ ซึ่งบทความก่อนเราได้พาไปทำความรู้จักกับระบบการพิมพ์ดิจิตอลกันไปแล้ว ว่ามีขั้นตอนการพิมพ์อย่างไร เหมาะกับงานประเภทใดบ้าง มีข้อดีอะไรบ้าง วันนี้เราเลยจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับระบบการพิมพ์ออฟเซ็ทกันต่อ ถ้าพร้อมแล้ว ไปดูกันเลย !
การพิมพ์ออฟเซ็ท (Offset Printing)
การพิมพ์ออฟเซ็ท หรือการพิมพ์ลูกกลิ้งคู่ คือ การพิมพ์ที่ใช้หลักการน้ำกับน้ำมันไม่รวมตัวกัน เป็นแบบการพิมพ์ที่อาศัยแม่พิมพ์ (Plate) โดยใช้เพลตที่ผลิตขึ้นจะอาบด้วยน้ำยาเคมีที่ทำให้เพลตอมหมึกแต่ไม่อมน้ำ เครื่องพิมพ์ยังมีหลายขนาด มีทั้งเครื่องพิมพ์ 1 สี 2 สี 4 สี 5 สี หรีือมากกว่านั้น การพิมพ์ออฟเซตจะได้งานที่มีคุณภาพสูง ละเอียด ภาพสวย คมชัด และสามารถสั่งพิมพ์ในปริมาณมาก ๆ ได้
ทั้งนี้ออฟเซตยังสามารถพิมพ์ได้บนวัสดุหลากหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น กระดาษ พลาสติก ผ้า ผ้าใบ ผ้าแคนวาส กระดาษสติกเกอร์ เป็นต้น และออฟเซตยังเหมาะกับงานที่ต้องนำไปใช้เทคนิคพิเศษเพิ่ม ไม่ว่าจะเป็น ปั๊มนูน ปั๊มฟอยล์ Spot UV ไดคัท หรือตัดเจียนขอบ ทำให้ชิ้นงานน่าสนใจ โดดเด่น มีเอกลักษณ์ และน่าจดจำ
เครื่องพิมพ์ออฟเซต แบ่งออกเป็น 2 ชนิด
1. เครื่องพิมพ์ชนิดป้อนแผ่น (sheet-fed)
เป็นเครื่องพิมพ์ชนิดที่ป้อนกระดาษทีละแผ่นเข้าเครื่องพิมพ์อย่างสม่ำเสมอ เครื่องพิมพ์มีหลายขนาดด้วยกันสามารถเลือกใช้ได้ตามวัตถุประสงค์ของงาน โดยเครื่องพิมพ์ป้อนแผ่น เหมาะกับงานพิมพ์ขนาดกลางที่อาร์ตเวิร์คพิมพ์บนชีทกระดาษที่ยังไม่ถูกตัด อย่างเช่น กระดาษขนาด B0, B1, หรือ B2
สิ่งพิมพ์ที่เหมาะกับการพิมพ์ออฟเซ็ต
ออฟเซ็ตสามารถพิมพ์งานได้หลากหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็น หนังสือ นิตยาสาร วารสาร แคตาล็อก แผ่นพับ บรรจุภัณฑ์ ใบปลิว โบรชัวร์ โปสเตอร์ และสิ่งพิมพ์อื่น ๆ ในปริมาณมาก เป็นต้น
ข้อดีของการพิมพ์ออฟเซต (Offset Printing)
- พิมพ์ได้จำนวนครั้งละมาก ๆ ใช้ระยะเวลาอันรวดเร็ว
- พิมพ์สีพื้นบริเวณภาพที่กว้างได้สีที่เรียบ เมื่อเทียบกับระบบอื่นๆ
- มีคุณภาพสูง ละเอียด คมชัด พิมพ์ได้เกือบทุกพิ้นผิว
- ยิ่งสั่งพิมพ์มาก ค่าใช้จ่ายจะถูกลง คุ้มค่ากับคุณภาพงาน
ข้อมูล : th.wikipedia.org
รูปภาพ : pinterest.com